สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เผยผลการศึกษาการส่งเสริม SMEs และผู้ประกอบอาชีพเสริม
แนวทางใหม่ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมความร่วมมือในการส่งเสริม SMEs ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
ดร.ปฏิมา จีระแพทย์
ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่าได้มอบหมายให้วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพเสริม SMEs ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นกรณีตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 13 ประเทศทั่วโลก พร้อมกับได้วิเคราะห์หากลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชีพเสริม
SMEs ที่มีการเติบโตสูง โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการพัฒนาของโลก ศักยภาพ
และทิศทางนโยบายของประเทศไทย
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มการบริการดานสุขภาพ งานสังคมสงเคราะห์
การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจยานยนต์ชิ้นส่วน
และกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงธุรกิจสนับสนุน เช่น
การวิจัยและพัฒนาของประเทศเป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs
ที่มีการเติบโตและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงในตลาดโลกและภูมิภาค
ผู้ประกอบการอาชีพเสริม SMEs ที่การเติบโตสูง คือ SMEs
ที่มีการเติบโตของผลประกอบการหรือพนักงานสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี
ซึ่งมีความสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อได้
เพื่อเข้ามาทดแทนภาคอุตสาหกรรม การค้า
หรือบริการที่ประเทศไทยเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพในการแข่งขัน
โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศ
เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพเสริมธุรกิจ SMEs กลุ่มนี้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น