วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หารายได้เสริมหลังเลิกงานง่าย ๆ หลากหลายวิธี

หารายได้เสริมหลังเลิกงานง่าย ๆ หลากหลายวิธี
รายได้เสริมหลังเลิกงาน สิ่งที่ประชาชนต้องการมีรายได้เสริมจากงานประจำ มันเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะลดเงินเดือน แต่ต้นทุนที่ต้องใช้ ผู้ที่ต้องการมี รายได้เสริม หลังเลิกงาน พวกเขาดูที่อาชีพนั้นจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งเสริมรายได้ที่คนชอบ
1. ขายตลาด ตามไปตอนเย็น
งานนี้ เราสามารถเปิดร้านตอนเย็น ถ้าจะดูที่ตลาดแหล่งที่จะมีคนมากมายไปซื้อสินค้า ซึ่งอาจจะเล็ก ๆน้อย ๆเกี่ยวกับธุรกิจอาหาร เช่น ขายขนม ขายลูกชิ้น ขายหมูปิ หรืออาจขายได้เป็นอย่างดี
2 . แฟรนไชส์ขายของ
วิธีนี้เป็นวิธีของการลงทุนหารายได้เสริมที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น พนักงานจ้าง เงินในการซื้อแฟรนไชส์ แฟรนไชส์มักจะสอนที่สำคัญเพื่อให้ เพื่อให้เราสามารถจัดการ
3 . พิมพ์งาน
งานนี้สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการพิมพ์เอกสาร ซึ่งจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพิมพ์อย่างมาก เพื่อให้สามารถสร้างรายได้เสริมอย่างเพียงพอ
4 . ขายของออนไลน์
ที่สินค้าออนไลน์ปัจจุบันกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เพื่อช่องในส่วนที่มีการเสริมดี ซึ่งส่วนใหญ่จะขายสินค้าแฟชั่น ตุ๊กตา กระเป๋า และสินค้าอื่น ๆอีกมากมาย
5 . ทำอาหารหม้อส่งร้านค้า ออฟฟิศ หอพัก
ถ้าคุณมีฝีมือในการปรุงอาหาร , การอบ พยายามที่จะใช้เวลาในการส่งในร้านค้า หรือ หอพัก ออฟฟิศ เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาในการปรุงอาหาร หรือ คุณต้องการที่จะออกไปเป็นช่องทางสำหรับผู้ที่มีฝีมือในการทำอาหาร ในการหารายได้เสริม

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

High Growth SMEs รูปแบบใหม่ สสว.ส่งเสริม ผู้ประกอบอาชีพเสริม SMEs

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เผยผลการศึกษาการส่งเสริม SMEs และผู้ประกอบอาชีพเสริม แนวทางใหม่ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมความร่วมมือในการส่งเสริม SMEs ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

ดร.ปฏิมา  จีระแพทย์ ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่าได้มอบหมายให้วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพเสริม SMEs ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นกรณีตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 13 ประเทศทั่วโลก พร้อมกับได้วิเคราะห์หากลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชีพเสริม SMEs ที่มีการเติบโตสูง โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการพัฒนาของโลก ศักยภาพ และทิศทางนโยบายของประเทศไทย

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มการบริการดานสุขภาพ งานสังคมสงเคราะห์ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจยานยนต์ชิ้นส่วน และกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงธุรกิจสนับสนุน เช่น การวิจัยและพัฒนาของประเทศเป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs ที่มีการเติบโตและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงในตลาดโลกและภูมิภาค


ผู้ประกอบการอาชีพเสริม SMEs ที่การเติบโตสูง คือ SMEs ที่มีการเติบโตของผลประกอบการหรือพนักงานสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งมีความสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อได้ เพื่อเข้ามาทดแทนภาคอุตสาหกรรม การค้า หรือบริการที่ประเทศไทยเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพในการแข่งขัน โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพเสริมธุรกิจ SMEs กลุ่มนี้

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาชีพเสริมกับต้นแบบร้านค้าราคาเดียว ราคาคือแบรนด์ของร้าน

การทำอาชีพเสริมกับร้านค้าปลีกสินค้าราคาเดียวที่เป็นที่นิยม อาทิ One Pound Shop ในประเทศอังกฤษ สินค้าทั้งร้านมีราคาเดียวคือ 1 ปอนด์ มีสินค้าเกือบทุกประเภทที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่จะมีไม่กี่แบรนด์ให้เลือกและมักจะเป็นแบรนด์ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักเพราะอาชีพเสริมร้านค้าประเภทนี้ “แบรนด์” ไม่มีความสำคัญกับลูกค้าเท่าไรนัก เรียกว่าไปหาสินค้าที่มีคุณภาพพอใช้ได้จากผู้ผลิตที่ให้ราคาต่ำที่สุดเท่านั้นเป็นพอ

ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพเสริมร้านค้าราคาเดียว การตั้งราคาของในร้านนั้น ส่วนใหญ่ตามร้านค้าต่าง ๆ จะขายของตามราคาที่ผู้ผลิตเป็นคนกำหนด แต่สำหรับร้านค้าราคาเดียวแล้วนั้น เนื่องจากเวลาสั่งของจะสั่งมาไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการสั่งแต่ละครั้งอาจมีจำนวนถึง แสนชิ้น จึงทำให้ต้นทุนของนั้นถูกลงมาก ทางบริษัทก็สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ด้วยตนเอง

แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาชีพเสริมร้านค้าราคาเดียวก็ต้องยอมเสี่ยงกับการสั่งของมามากเกินไปด้วย และเนื่องจากการที่ต้องสั่งจองของเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องสั่งทำหรือผลิตก่อนล่วงหน้าอย่างน้อยครึ่งปี ถึง 2 ปี เพราะฉะนั้นถ้าของในร้านหมดลูกค้าอาจจะต้องรอกันไปอย่างไม่มีกำหนดว่าเมื่อไหร่ของจะเข้ามาอีก  ผู้ประกอบการอาชีพเสริมร้านค้าราคาเดียวควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย


วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทรนด์อาหารญี่ปุ่น ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น มูลค่าตลาดนับหมื่นล้าน

ร้านอาหารญี่ปุ่นไม่ได้นิยมแค่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ได้ขยายไปทั่วโลก รัฐบาลญี่ปุ่นส่งออกเชฟ โดยการร่วมทุนกับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุดนับ 10,000 ร้าน ส่วนในไทยมีอยู่ประมาณ 1,000 ร้าน เป็นประเทศในกลุ่มที่ 3 ที่ยังมีจีน มาเลเซีย ที่ญี่ปุ่นเร่งขยายธุรกิจ รองจากประเทศในอันดับต้น ๆ คือ อเมริกา ยุโรป สิงคโปร์ ฮ่องกง

เมื่อพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% ต่อปี โดยธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นจะกระจายอยู่ในกรุงเทพฯและตามจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยว เช่นเชียงใหม่ พัทยา แบ่งเป็นร้านที่เปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้า 50% ร้านที่เปิดเดี่ยว ๆ 40% และร้านในโรงแรม 10% สามารถแบ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นออกเป็น 3 ตลาด คือ ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยม ร้านอาหารที่เน้นเฉพาะกลุ่มชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ราคาจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นร้านที่อยู่ตามโรงแรมและห้างสรรพสินค้าหรูใจกลางเมือง


ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไป ร้านที่เน้นลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ราคาอยู่ในระดับกลาง ๆ ซึ่งก็มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือก เมนูราคาเฉลี่ยของอาหารระดับนี้จะอยู่ที่ประมาณ 100-200 บาท สุดท้ายร้านอาหารญี่ปุ่นระดับล่าง ที่เน้นผู้บริโภคชาวไทยเป็นหลัก มีราคาค่อนข้างถูกเนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบในประเทศ คนกลุ่มนี้พอใจจ่ายที่ราคา 5-120 บาท จึงทำให้อาหารญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดล่าง

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

SME Bank เดินหน้าปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และ SME

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SME Bank สถาบันการเงินที่มีบทบาทและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ,ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ไทยทั่วประเทศ ตลอดระยะที่เปิดดำเนิรการให้ทำการปล่อยสินเชื่อที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ธุรกิจแฟรนไชส์ และไม่ว่า SMEs ไทยจะประสบกับปัญหาทางด้านการเงินที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านใดก็ตาม SME Bank ทั้ง 95 สาขาทั่วประเทศก็ยังจะคงบทบาทของการเป็นสถาบันการเงินหลัก ที่ให้บริการและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ไทย และผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

เปิดวิสัยทัศน์และนโยบายสินเชื่อกับ คุณปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์  รักษาการกรรมการผู้จัดการ กับโครงการผนึกกำลัง 21 หน่วยงานรุดช่วยเหลือ SMEs และอีก 2 หน่ายงาน  ร่วมให้ข้อมูลถึงความร่วมมือกับโครงการซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานคือเจ้าภาพหลัก และโอกาสนี้ SMEs ไทยยังจะได้รับรับรู้ถึงรายละเอียดและสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของ SME Bank ในโอกาสต่อไป


คุณปาริฉัตร กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำในลักษณะที่ให้หน่วยงานที่ร่วมโครงการ มีส่วนร่วมในการให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และได้เพิ่มการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดอย่างยั่งยืนของกิจการหน่วยงานต่าง ๆ จะทำหน้าที่คัดสรรหาผู้ประกอบการ SMEs ที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ซึ่งควรเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และต้องการแหล่งเงินทุน ให้ส่งต่อมายัง SMEs Bank เพื่อจะได้รับสินเชื่อ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะทำให้ SMEs และผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น 

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายของอาชีพอิสระ

อาชีพอิสร คืออาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นนายของตัวเอง ไม่ใช่อาชีพพนักงานกินเงินเดือน หรือพนักงานประจำ ตรงตามความหมายของคำ นั่นคือ การมีอิสระในการดำเนินการประกอบอาชีพ อาชีพอิสระมีมากมายหลายอย่าง เรียกได้ว่าอาชีพไหนๆ ก็สามารถผันตัวเองมาเป็นอาชีพอิสระได้


อาชีพอิสระ,อาชีพเสริม


โดยส่วนใหญ่แล้วอาชีพอิสระจะเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ฟรีแลนซ์ (Freelance)” ที่หลายคนมีทัศนคติว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง และต้องพยายามหาช่องทางใหม่ๆ อยู่เสมอ ดิ้นรนเพื่อหาลูกค้าหรือคนรู้จักให้ได้งานมา มีน้อยคนนักที่จะมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพนี้ แต่แท้จริงแล้วนั้น มีอาชีพอิสระมากมายที่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต สามารถขยับขยายจนกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สร้างงานให้กับคนทั่วไปอีกมาก 

ข้อดีของการทำอาชีพอิสระคือ
  • เป็นเจ้านายตนเอง ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่
  • กำหนดการทำงานเอง
  • รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
  • สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ อย่างเต็มที่
  • รายได้ไม่จำกัด (ทำมากรวยมาก ทำน้อยรวยน้อย)