วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทรนด์อาหารญี่ปุ่น ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น มูลค่าตลาดนับหมื่นล้าน

ร้านอาหารญี่ปุ่นไม่ได้นิยมแค่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ได้ขยายไปทั่วโลก รัฐบาลญี่ปุ่นส่งออกเชฟ โดยการร่วมทุนกับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากที่สุดนับ 10,000 ร้าน ส่วนในไทยมีอยู่ประมาณ 1,000 ร้าน เป็นประเทศในกลุ่มที่ 3 ที่ยังมีจีน มาเลเซีย ที่ญี่ปุ่นเร่งขยายธุรกิจ รองจากประเทศในอันดับต้น ๆ คือ อเมริกา ยุโรป สิงคโปร์ ฮ่องกง

เมื่อพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% ต่อปี โดยธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นจะกระจายอยู่ในกรุงเทพฯและตามจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยว เช่นเชียงใหม่ พัทยา แบ่งเป็นร้านที่เปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้า 50% ร้านที่เปิดเดี่ยว ๆ 40% และร้านในโรงแรม 10% สามารถแบ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นออกเป็น 3 ตลาด คือ ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยม ร้านอาหารที่เน้นเฉพาะกลุ่มชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ราคาจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นร้านที่อยู่ตามโรงแรมและห้างสรรพสินค้าหรูใจกลางเมือง


ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไป ร้านที่เน้นลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า ราคาอยู่ในระดับกลาง ๆ ซึ่งก็มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือก เมนูราคาเฉลี่ยของอาหารระดับนี้จะอยู่ที่ประมาณ 100-200 บาท สุดท้ายร้านอาหารญี่ปุ่นระดับล่าง ที่เน้นผู้บริโภคชาวไทยเป็นหลัก มีราคาค่อนข้างถูกเนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบในประเทศ คนกลุ่มนี้พอใจจ่ายที่ราคา 5-120 บาท จึงทำให้อาหารญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดล่าง

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

SME Bank เดินหน้าปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และ SME

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SME Bank สถาบันการเงินที่มีบทบาทและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ,ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ไทยทั่วประเทศ ตลอดระยะที่เปิดดำเนิรการให้ทำการปล่อยสินเชื่อที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ธุรกิจแฟรนไชส์ และไม่ว่า SMEs ไทยจะประสบกับปัญหาทางด้านการเงินที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านใดก็ตาม SME Bank ทั้ง 95 สาขาทั่วประเทศก็ยังจะคงบทบาทของการเป็นสถาบันการเงินหลัก ที่ให้บริการและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ไทย และผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

เปิดวิสัยทัศน์และนโยบายสินเชื่อกับ คุณปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์  รักษาการกรรมการผู้จัดการ กับโครงการผนึกกำลัง 21 หน่วยงานรุดช่วยเหลือ SMEs และอีก 2 หน่ายงาน  ร่วมให้ข้อมูลถึงความร่วมมือกับโครงการซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานคือเจ้าภาพหลัก และโอกาสนี้ SMEs ไทยยังจะได้รับรับรู้ถึงรายละเอียดและสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของ SME Bank ในโอกาสต่อไป


คุณปาริฉัตร กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำในลักษณะที่ให้หน่วยงานที่ร่วมโครงการ มีส่วนร่วมในการให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และได้เพิ่มการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดอย่างยั่งยืนของกิจการหน่วยงานต่าง ๆ จะทำหน้าที่คัดสรรหาผู้ประกอบการ SMEs ที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ซึ่งควรเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และต้องการแหล่งเงินทุน ให้ส่งต่อมายัง SMEs Bank เพื่อจะได้รับสินเชื่อ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะทำให้ SMEs และผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น